เริ่มต้นเนื้อหา
เริ่มต้นเนื้อหา
ตัวอย่างโปรเจค “RS-485 Weather Station Monitoring and Control with Micromation Dev Board V3” เป็นโปรเจคงานตรวจสอบสภาพอากาศที่ควบคุมผ่านการสื่อสารข้อมูลแบบ RS-485 โดยใช้บอร์ด Micromation Dev Board V3 ประมวลผลรวบรวมข้อมูลสภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม และทิศทางลมและนำมาแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ เช่น สมาร์ทโฟน โดยสามารถควบคุมสั่งงานได้ในขณะเดียวกัน เซ็นเซอร์ที่ใช้ต่อร่วมทั้งหมดจะเป็นเซนเซอร์ที่มีความแม่นยำสูงโดยเซนเซอร์ทั้งหมดจะใช้การสื่อสารข้อมูลแบบ RS-485 มาตรฐานโปรโตคอล Modbus ดังนั้นผู้ใช้ควรมีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานเซนเซอร์มาก่อน ทั้งนี้ได้มีการอธิบายการใช้งานของเซ็นเซอร์แต่ละตัวเพื่อให้ศึกษาเพิ่มเติมตามลิงค์ต่อไปนี้
คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากลิ้งค์เหล่านี้
Sensor ID1: BGT-WSD2 humidity & temperature
Sensor ID2: RS FS wind speed
Sensor ID3: RS FX wind direction
อุปกรณ์
ขั้นตอนการปฏิบัติ
ขั้นตอนการปฏิบัติ
สำหรับการเชื่อมต่อเซนเซอร์หลายตัวเข้าด้วยกันจะต้องระบุค่า ID ของเซ็นเซอร์แต่ละตัวให้ถูกต้องเพราะ RS-485 Modbus จะใช้ ID ระบุตัวตนในการสื่อสาร หลังจากตั้งค่า RS-485 Modbus Sensor ให้ถูกต้องแล้วจะสามารถเรียกดูข้อมูลจากเซ็นเซอร์แต่ละตัวผ่านโปรแกรมได้ โดยใช้ Baud Rate ที่ตรงกับการตั้งค่าของแต่ละเซ็นเซอร์ซึ่งในตัวอย่างจะใช้การตั้งค่าดังนี้
Sensor ID1: BGT-WSD2 humidity & temperature
– Baud Rate: 9600
Sensor ID2: RS FS wind speed
– Baud Rate: 9600
Sensor ID3: RS FX wind direction
– Baud Rate: 4800
โค้ดต่อไปนี้ใช้ร่วมกับ โปรแกรม Arduino IDE
เมื่อติดตั้งโปรแกรมแล้วและต้องการเรียกดูไอพีที่ใช้ในการเข้าถึงผ่าน Serial Monitor สามารถทำตามขั้นตอนดังนี้:
- เปิด Serial Monitor: เมื่อเชื่อมต่อ Micromation Dev Board V3 เข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต Serial (หรือ USB-to-Serial) ให้เปิด Serial Monitor ในโปรแกรม Arduino IDE หรือโปรแกรมอื่น ที่รองรับการเชื่อมต่อ Serial Monitor.
- ตั้งค่า Serial Monitor: ทำการตั้งค่าต่าง ๆ บน Serial Monitor ให้ถูกต้อง เช่น ความเร็ว (Baud Rate) ที่ตรงกับที่ทำการตั้งค่าในโปรแกรมและเลือกการแสดงผลเป็น “Newline” หรือ “Both NL & CR” (ขึ้นอยู่กับวิธีการเขียนข้อมูลในโปรแกรม)
- อ่านไอพีที่แสดงผล: เมื่อเริ่มต้นประมวลผลโปรแกรมบน Micromation Dev Board V3 ข้อมูลไอพีที่ใช้ในการเข้าถึงจะถูกส่งไปยัง Serial Monitor ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ปรากฏบน Serial Monitor เป็นไอพีที่สามารถใช้ในการเข้าถึงผ่านเครือข่าย WiFi STA (intranet)
- นำไอพีไปใช้: ไอพีที่แสดงผลบน Serial Monitor สามารถนำไปใช้เพื่อเข้าถึง Micromation Dev Board V3 บนเครือข่าย WiFi STA Mode โดยใช้ไอพีที่แสดงผลเชื่อมต่อผ่านเว็บบราวเซอร์
นอกจากการแสดงผลค่าสภาพอากาศแล้วยังสามารถควบคุมสั่งงานรีเลย์แต่ละตัวได้ในขณะเดียวกัน
สามารถต่อยอดสร้างโค้ดควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เช่น การเปิด/ปิดพัดลมระบายอากาศหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่น ๆได้ตามความต้องการ
โปรเจคนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดด้วยการเพิ่มเติมความสามารถ ปรับปรุงระบบ หรือเพิ่มเติมอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมทั้งการเพิ่มความหลากหลายในการควบคุมและตรวจสอบสภาพอากาศ
การนำโปรเจคดังกล่าวไปใช้งานจริงต้องมีความรอบคอบในการวางแผน การเชื่อมต่ออุปกรณ์ การโปรแกรมและการศึกษาเพิ่มเติมในหลายด้าน เช่น การเชื่อมต่อ ข้อควรระวัง คำแนะนำต่าง ๆ เพื่อให้ทำงานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย